หน้าที่ที่รับผิดชอบ + ทำบ่อยๆ = ทำให้เกิดทักษะ
อธิบายหน้าที่ที่รับผิดชอบ + เรียบเรียงประโยคให้สวยงาม = เป็นหัวข้อประสบการณ์
อธิบายหน้าที่ที่รับผิดชอบ + เรียบเรียงประโยคให้สวยงาม = เป็นหัวข้อประสบการณ์
เราได้รับหน้าที่อะไร
ในกิจกรรมใดก็ตาม หน้าที่และความรับผิดชอบที่ทำนั้น คือ ประสบการณ์
ส่วนการทำงานที่ทำอยู่เป็นประจำ บ่อย ๆ ทำให้เกิดความเชี่ยวชาญขึ้น ก็คือทักษะที่มีอยู่ในตัวนั่นเอง
เพียงแค่นี้ เราก็มีทั้งประสบการณ์ และทักษะที่จะเขียนในเรซูเม่แล้วค่ะ
ยกตัวอย่างง่ายๆ
ในงานประจำปีของมหาวิทยาลัย เรามีหน้าที่ขายตั๋วเข้าชมงาน
ประสบการณ์ของเราก็คือ
ประสบการณ์ของเราก็คือ
- อธิบายรายละเอียด กำหนดการ รวมถึงไฮไลท์ของงานเพื่อสร้างความน่าประทับใจแก่ผู้ซื้อ
- ตอบคำถามและสร้างความเข้าใจกับผู้ซื้อได้โดยละเอียด หากผู้ซื้อมีข้อสงสัย
- สามารถขายตั๋ว 120 ใบ ภายใน 3 วัน เพื่อให้มีรายได้สนับสนุนการจัดงาน
- Provided relevant information in detail including schedule and all features of the event to visitors
- Answered all respective questions, clarified all matters
- Managed to sell 120 tickets in 3 days, earning income to support the event
ทักษะของเราก็คือ
Sales Skills
- ทักษะการขาย
- สร้างความประทับใจและความเข้าใจอันดีในตัวสินค้าแก่ผู้ซื้อ
- ทักษะการพูดชักจูง
- ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ผู้ซื้อจะได้รับและโน้มน้าวให้ตัดสินใจเพื่อปิดการขาย
- ทักษะการสื่อสาร
- สื่อสารด้วยวาจาที่สุภาพ ชัดเจน และมีไมตรีจิต
Sales Skills
- Making good impression and well explained all products to clients
- Persuaded clients by pointing out the advantages of products to close sales
- Responded with politeness and good etiquette to everyone
ลองหาไอเดียจากประสบการณ์ตามลิสต์ด้านล่างดูค่ะ
1. การฝึกงาน
เป็นประสบการณ์ทำงานโดยตรงที่เกิดจากการฝึกงาน
ซึ่งจะนำไปเขียนเรซูเม่ได้ โดยดูว่า เราได้รับมอบหมายหน้าที่อะไร ใช้ทักษะอะไร
ทำแล้วเกิดผลลัพธ์อะไรแก่บริษัทที่ไปฝึกงาน
2. อาสาสมัคร
อาจเป็นการออกค่ายอาสา สอนหนังสือน้อง อ่านหนังสือให้คนตาบอดฟัง
ค่ายปลูกป่า งานบำเพ็ญประโยชน์ต่าง ๆ ทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย
3. กิจกรรมที่ทำในมหาวิทยาลัย จากการเป็นสมาชิกชมรม หรือไม่เป็นก็ตาม
หากมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ก็ถือว่าเป็นประสบการณ์อย่างนึงแล้วค่ะ เช่น มีส่วนร่วมในการประสานงาน งานการเงิน ขอสปอนเซอร์ ออกแบบสื่อต่าง ๆ ประชาสัมพันธ์ ทำสื่อต่าง ๆ ใน social media หรือ ใบปลิว
บิลบอร์ด และอื่น ๆ จัดตารางงาน ขายตั๋ว แม้แต่ร่วมเตะฟุตบอลในทีมมหา’ลัยก็ถือเป็นประสบการณ์ค่ะ (ทักษะการทำงานเป็นทีม, ทักษะการวางแผนเพื่อเป้าหมาย
เป็นต้น)
4. หากไม่ร่วมกิจกรรมในมหาวิทยาลัย ให้พิจารณางานที่ทำในห้องเรียนที่มากกว่าการนั่งฟังเลคเชอร์ทั่ว
ๆ ไป เช่น
- การทำ research ทำรายงานในวิชาต่าง ๆ: เราอาจเป็นหัวหน้ากลุ่มทำงานวิจัย หรือเราเป็นหนึ่งในสมาชิกในกลุ่มที่หาข้อมูลเพื่อทำงานวิจัย สำรวจและเก็บข้อมูล เป็นต้น
- การทำงานในห้องแล็บ: เราเป็นผู้ควบคุมดูแลให้งานในห้องแล็บเป็นไปโดยสมบูรณ์ หรือเป็นผู้ที่พรีเซนต์ผลงานหรือรายงานในห้องเรียนเสมอๆ หรือเป็นฝ่ายปฏิบัติการ จดค่า ทำรายงาน หรือฝ่ายหาวัสดุ ดูแลเครื่องมือที่ใช้ทดลอง รวมถึงเซ็ตเครื่อง เป็นต้น
- วิชาช่างสำรวจ: ทำรังวัด แผนที่ survey เป็นต้น
5. งานประกวดแข่งขันเดี่ยวหรือกลุ่ม/ งานภาคปฏิบัติ/ Project ต่าง ๆ
อาจเป็นงานเดี่ยวหรือกลุ่มที่ได้เคยทำมา อาจเคยได้รับหน้าที่เดิมทุกครั้งที่มีการจับกลุ่ม
ทำให้มีความชำนาญในเรื่องนั้นๆมากขึ้น อาจเป็นในห้องเรียน หรือนอกห้องเรียน ได้รางวัลหรือไม่ก็ตาม ลองพิจารณาดูว่าเรารับผิดชอบในส่วนไหน ใช้ทักษะอะไร เช่น
- ประกวดดีไซน์ชุดแฟชั่น: เรามักจะเป็นคนเขียนแพทเทิร์นเสมอๆ หรือออกไอเดียตลอดเวลา หรือเรามีส่วนร่วมในการวางแผนหรือจัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็น เป็นต้น
6. งานที่เป็นกิจการของครอบครัว ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่
หากเรามีคุณสมบัติข้อนี้ เราเป็นคนที่โชคดีคนนึง
เพราะได้รับการปลูกฝังทักษะมาโดยไม่รู้ตัว และความชำนาญนั้นก็อยู่ในตัวเราค่ะ หลายคนอาจรู้สึกว่ามันน่าเบื่อที่ต้องทำสิ่งเดิม
ๆ ซ้ำ ๆ กันทุกวัน
แต่นั่นคือทักษะ ที่ใช้เขียนลงในเรซูเม่เพื่อเป็นใบผ่านทางไปยังงานในฝันของเราได้ค่ะ
เรามาดูกันว่า
กิจการเล็กๆ ของครอบครัว จะเขียนเรซูเม่ได้อย่างไร
เมื่อใดที่การซื้อขายเกิดขึ้น เรามีทักษะการขายค่ะ
ทักษะการบริหารจัดการ ในการจัดหาวัตถุดิบ เตรียมสินค้า
ทักษะการตลาด ในการทำให้ผู้ซื้อรู้จักสินค้าของเรามากที่สุด ไม่ว่าจะผ่านสื่อใดก็ตาม
7. งานพาร์ทไทม์ (part-time) ที่เคยทำมา
มาในรูปแบบของงาน จึงง่ายต่อการสังเกตทักษะและประสบการณ์ที่มี อาจเป็นงานระยะสั้น แต่ถ้าฝึกฝนจนเป็นทักษะ
นั่นก็ถือเป็นความสามารถที่นำไปเขียนเรซูเม่ได้ค่ะ
เช่น
พนักงานเสิร์ฟ : ทักษะการสื่อสาร
การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
พนักงานด้านเอกสาร: ทักษะความละเอียด
การพิมพ์ การร่างจดหมาย การใช้ Microsoft Office เป็นต้น
ถึงจุดนี้ คงพอจะรู้บ้างแล้วว่าเรามีประสบการณ์อะไรมาบ้าง
หลังจากนั้น
นำข้อมูลมาเรียบเรียงเป็นประโยคให้สวยงาม และชัดเจน อาจเลือกเขียนเฉพาะประสบการณ์ในเรซูเม่
โดยไม่เขียนทักษะก็ได้ และควรเลือกเฉพาะประสบการณ์ที่เกี่ยวกับตำแหน่งงานที่สมัครค่ะ
แต่หากพบว่า เราไม่มีประสบการณ์ในกิจกรรมใดมาเลย ไม่เป็นไรค่ะ คลิกอ่านแผนสำรองกันค่ะ วิธีสร้างประสบการณ์ให้ตัวเอง
แต่หากพบว่า เราไม่มีประสบการณ์ในกิจกรรมใดมาเลย ไม่เป็นไรค่ะ คลิกอ่านแผนสำรองกันค่ะ วิธีสร้างประสบการณ์ให้ตัวเอง
บทความที่เกี่ยวข้อง
- มือใหม่...เริ่มต้นที่นี่
- Template เรซูเม่แบบ offline (MS Word)
- ใช้ Past Tense หรือ Present Tense ใน resume กันแน่?
- 5 ข้อควรทำ VS ไม่ควรทำในการเขียน resume ภาษาอังกฤษ + เคล็ดลับให้ได้งาน
- ทักษะ 10 อย่างที่นายจ้างมองหาจากเรซูเม่นักศึกษาจบใหม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น